บริษัท ดีแพลนทัวร์ จำกัด
083-751-6663 088-646-6637    096-926-1949    096-896-9386 dplantour@gmail.com   @dplantour

By

dplantour
ดารุมะ คืออะไร ตุ๊กตาดารุมะ (Daruma) คือ ตุ๊กตาล้มลุกของญี่ปุ่น ทรงกลมไม่มีแขนขา ทำจากไม้ ด้านในกลวง มักเป็นสีแดง อาจมีดวงตาข้างเดียวหรือไม่มีทั้งสองข้าง ทั้งนี้เพราะการเขียนดวงตาให้กับดารุมะนี้เองคือธรรมเนียมขอพรอย่างหนึ่งของชาวญี่ปุ่น ดารุมะถือเป็นของนำโชค เพราะเป็นตุ๊กตาล้มลุกที่ไม่ว่าจะผลักกี่ครั้งก็ตั้งกลับขึ้นมาได้เสมอ จึงเป็นเครื่องหมายของความพยายามและความสำเร็จ ประวัติความเป็นมาของดารุมะ ที่มาของดามุระออกจะน่ากลัวสักหน่อย ว่ากันว่าต้นแบบของดารุมะมาจากพระชาวอินเดียที่ชื่อ ดารุมะไดชิ (達磨大師) ผู้นั่งสมาธิเป็นเวลาถึง 9 ปีจนแขนขาเปื่อยเน่าและผุสลายไป มีทฤษฎีว่าธรรมเนียมวาดตาให้ดารุมะเริ่มในสมัยเอโดะ ช่วงนั้นเกิดการระบาดของไข้ทรพิษขึ้น ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายต่อดวงตา จึงมีการทำดารุมะไร้ตาขึ้นเพื่อวาดดวงตาลงไปเป็นการขอพรให้ช่วยคุ้มครองตนจากโรคนี้ ที่มักทาเป็นสีแดงก็เพราะเชื่อกันว่าสีแดงจะช่วยปัดเป่าสิ่งไม่ดี การวาดดวงตาขอพร วิธีขอพรคือให้วาดดวงตาข้างซ้ายของตุ๊กตาก่อน (จะอยู่ขวามือของเราเมื่อหันหน้าเข้าตุ๊กตา) แล้วจึงอธิษฐานสิ่งที่อยากให้เป็นจริง เมื่อสมหวังแล้วให้มาวาดดวงตาอีกข้างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีข้อกำหนดตายตัวว่าต้องวาดข้างซ้ายก่อนเสมอ กรณีไม่สมหวัง จะวาดหรือไม่วาดดวงตาอีกข้างก็ได้ ไม่ว่าจะสมหวังหรือไม่ เมื่อผ่านไป 1 ปีก็ควรนำไปคืนที่วัดหรือศาลเจ้า เนื่องจากเชื่อกันว่าตุ๊กตาจะคอยรับสิ่งไม่ดีแทนเรา แม้ไม่สมหวัง บางคนอาจวาดดวงตาอีกข้างให้ตุ๊กตาเป็นการขอบคุณที่ช่วยปกป้องมาตลอด 1 ปี สีของดารุมะ นอกจากสีแดงแล้ว ตุ๊กตาดารุมะ ยังมีหลายสี โดยแต่ละสีก็จะมีความหมายแตกต่างกัน ได้แก่ สีแดง ปัดเป่าภัยอันตราย สีดำ...
Read More
ซากุระโมจิ (Sakura mochi) คืออะไร ซากุระโมจิ คือ ขนมที่ทำจากแป้งโมจิสีชมพู ไส้ทำจากถั่วแดงกวน ห่อด้านนอกอีกชั้นด้วยใบซากุระแช่เกลือ รสหวานออกเค็มนิดๆ หอมกลิ่นใบซากุระ เป็นขนมประจำฤดูใบไม้ผลิ และนิยมทานในวันเด็กผู้หญิงอีกด้วย ซากุระโมจิแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โชเมจิ หรือแบบคันโต และ โดเมียวจิ หรือแบบคันไซ ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้ โชเมจิ (คันโต) ซากุระโมจิของคันโตจะเป็นแผ่นแป้งแบนเรียบ ทำจากแป้งสาลี เนื้อจึงจึงมีลักษณะคล้ายแป้งเครป ว่ากันว่ากำเนิดมาจากวัดโชเมจิจึงเรียกกันด้วยชื่อนี้ โดเมียวจิ (คันไซ) ซากุระโมจิของฝั่งคันไซทำจากการนำข้าวเหนียวไปนึ่งและทำให้แห้ง ก่อนจะนำไปบดแล้วนึ่งอีกครั้ง มีเอกลักษณ์ที่ข้าวยังเป็นเม็ดอยู่ ซึ่งแป้งโดเมียวจินี้เป็นวิธีการถนอมอาหารของวัดโดเมียวจิ ใบที่ห่อซากุระโมจิทานได้หรือไม่ แม้ในหมู่คนญี่ปุ่นเอง ประเด็นนี้ก็ยังเป็นที่สงสัยกัน คำตอบก็คือ จะเอาออกหรือกินไปพร้อมกับโมจิก็ได้ หากกินเปล่าๆ จะออกรสหวาน กินพร้อมกับใบจะมีรสเค็มด้วย
Read More
ฮาจิโกะ คือใคร ฮาจิโกะ (Hachiko) คือ สุนัขยอดกตัญญูผู้ไปรอรับเจ้าของที่สถานีชิบูย่าทุกวัน แม้เจ้าของจะจากไปแล้ว มันก็ยังคงเฝ้ารออยู่ที่เดิมเวลาเดิมเป็นเวลานานถึง 10 ปีเต็ม ความภักดีนี้ทำให้ชาวญี่ปุ่นประทับใจและสร้างรูปปั้นฮาจิโกะที่หน้าสถานีชิบูย่า จนกลายมาเป็นจุดนัดพบสำคัญและเป็นจุดเช็คอินที่ต้องแวะไปเมื่อไปเยือนชิบูย่า แม้คนไทยจะเรียกติดปากกันว่าฮาจิโกะ แต่อันที่จริงแล้วสุนัขตัวนั้นชื่อว่าฮาจิ (Hachi) ส่วนคำว่าโกะหรือโค (公) นั้นแปลว่ารูปปั้น รู้จักกับฮาจิ ฮาจิคือสุนัขพันธุ์อากิตะ เพศผู้ เกิดในปี 1923 ยุคไทโช ในจังหวัดอากิตะ ต่อมาศาสตราจารย์อุเอโนะ ฮิเดซาบุโร่ก็ได้มารับไปเลี้ยงและพาไปอยู่ด้วยกันที่โตเกียว ศาสตราจารย์รักมันมากและตั้งชื่อให้ว่าฮาจิ ศาสตราจารย์อุเอโนะเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโตเกียว (Tokyo Imperial University) ศาสตราจารย์จะเดินทางไปขึ้นรถไฟที่สถานีชิบูย่าเพื่อไปมหาวิทยาลัยโดยมีเจ้าฮาจิมาส่งที่ทางเข้าสถานี และเมื่อถึงตอนเย็นที่กลับมาก็จะพบกับฮาจิที่มารอรับอยู่หน้าสถานีทุกวัน ทว่าในวันที่ 21 พฤษภาคม 1925 ศาสตราจารย์เสียชีวิตอย่างกะทันหันที่มหาวิทยาลัยด้วยอาการเลือดออกในสมอง ในวันนั้นฮาจิก็ยังคงไปรออยู่ที่สถานีชิบูย่าเหมือนอย่างทุกวัน โดยที่ไม่รู้ว่าเจ้าของของมันจะไม่เดินออกจากสถานีมาหามันอีกแล้ว หลังจากนั้นฮาจิก็ยังไปรอศาสตราจารย์อยู่ที่เดิมเวลาเดิมทุกเช้าทุกเย็นจนเป็นภาพที่คุ้นตาของผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา จนในปี 1932 เรื่องราวของฮาจิโกะก็ได้ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์และทำให้ฮาจิโกะเป็นที่รู้จักไปทั่วญี่ปุ่นในชื่อ “ฮาจิโกะผู้ซื่อสัตย์” รูปปั้นฮาจิโกะถูกสร้างขึ้นในปี 1934 ที่หน้าสถานีชิบูย่า บริเวณที่ฮาจินั่งรอเจ้าของของมันเสมอ ซึ่งฮาจิก็อยู่ในวันเปิดตัวรูปปั้นด้วย Cr: commons.wikimedia ฮาจิจากไปในปี 8...
Read More
โซเมงคืออะไร โซเมง (Somen) คือ เส้นอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นเส้นกลม สีขาว เส้นเล็กบาง ทำมาจากแป้งสาลีเช่นเดียวกับอุด้ง นิยมทำเป็นเมนูแบบเย็นทานในฤดูร้อน ฮิยาชิโซเมง (Hiyashi somen) ฮิยาชิโซเมง คือ โซเมงแบบเย็น เสิร์ฟบนน้ำแข็ง เวลาทานจะจุ่มเส้นลงในซอสสึยุรสเข้มข้นเช่นเดียวกับซารุโซบะและซารุอุด้ง ทานโดยจุ่มเส้นลงในซุปเหมือนสึเคเมง ทานแบบเย็นๆ กันในหน้าร้อน นากาชิโซเมง (Nagashi somen) นวัตกรรมการทานโซเมงที่เส้นแบบอื่นไม่มี ในช่วงหน้าร้อน คนญี่ปุ่นจะนำไม้ไผ่สดมาผ่าครึ่ง ต่อเป็นรางยาวแล้วปล่อยน้ำให้ไหลมาตามราง เมื่อทุกคนมีอาวุธคือตะเกียบและถ้วยใส่สึยุกันพร้อมแล้ว เขาจะปล่อยเส้นโซเมงไหลลงมาพร้อมกับน้ำให้คีบกินระหว่างทาง หากคีบไม่ทัน เส้นจะไหลไปรวมกันที่ถาดปลายราง นับเป็นกิจกรรมสนุกๆ ในหน้าร้อน นิวเมง (Nyumen) นิวเมง คือ โซเมงแบบร้อน ซุปมักทำจากน้ำสต็อกไก่ มักทานในหน้าหนาว ตรงข้ามกับโซเมงปกติ
Read More
สีภาษาญี่ปุ่น มีอะไรบ้าง สีภาษาญี่ปุ่น คืออีกหมวดคำศัพท์ที่ควรรู้ แต่ละสีมีชื่อเรียกแยกย่อยไปอีกหลายแบบ มารู้จักชื่อเรียกสีพื้นฐานไปจนถึงเฉดสีที่ต่างกัน สีเป็นได้ทั้งคำนามและคำคุณศัพท์ที่ใช้ขยายนาม แต่ละคำจะมีวิธีผันไม่เหมือนกัน โดยหลักในการผันหลักๆ คือเติม อิ โนะ หรือ นะ แล้วต่อด้วยคำนาม ดังนี้ สี : 色 คำว่าสี คือคำว่า อิโระ (Iro) จึงไม่แปลกที่หลายคำจะลงท้ายด้วยคำว่าอิโระ สีไหนที่ลงท้ายด้วยอิโระ มักผันเป็นคำคุณศัพท์ด้วยการเติมคำว่า โนะ (の) สีแดง : 赤 คำนาม : อากะ (Aka) คำคุณศัพท์ : อาไค่ (Akai)   สีแดง ที่ใช้กันทั่วไปคือคำว่า อากะ (ออกเสียงระหว่าง ก. กับ ค.) เมื่อผันเป็นคุณศัพท์ให้เติม อิ ออกเสียงเป็น อาไค่ สีน้ำเงิน : 青 คำนาม...
Read More
โอริกามิ คืออะไร โอริกามิ (Origami) คือ การพับกระดาษแบบญี่ปุ่น ซึ่งจะพับกระดาษให้เป็นรูปทรงต่างๆ โดยคำว่าโอริ (折り) แปลว่าพับ ส่วนกามิ (紙) แปลว่ากระดาษ กระดาษที่ใช้พับโอริกามิจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสและค่อนข้างบาง มี 2 แบบ ได้แก่ โอริกามิ หรือกระดาษสีไม่มีลาย และ จิโยกามิ (Chiyogami) หรือกระดาษสีที่มีลวดลาย ซึ่งมักเป็นลายญี่ปุ่น วิธีพับโอริกามิมีหลายรูปแบบ เช่นการพับกระดาษทั้งแผ่นให้เป็นรูปร่าง พับทีละส่วนแล้วนำมาประกอบกัน ไปจนถึงการพับพร้อมตัดกระดาษให้ออกมาเป็นลายต่างๆ ประวัติของโอริกามิ กล่าวกันว่าญี่ปุ่นเริ่มผลิตกระดาษปริมาณมากในสมัยเฮอัน ส่วนวัฒนธรรมการพับโอริกามิเริ่มในสมัยเอโดะ จนในยุคเมจิที่ผลิตกระดาษแบบตะวันตกได้อย่างแพร่หลายแล้ว โอริกามิจึงเป็นที่นิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นกกระเรียนกระดาษ ญี่ปุ่นมีศิลปะการพับกระดาษมากมาย แต่ที่คลาสสิกที่สุดคงหนีไม่พ้นนกกระเรียนที่เรียกว่า โอริสึรุ (Oritsuru) โดยนกกระเรียนถือเป็นสัญลักษณ์ของอายุยืนยาวและความมงคล หากพับครบพันตัวจะเรียกว่า เซ็นบะสึรุ (Senbatsuru) ซาดาโกะกับนกกระเรียนพันตัว ตำนานนกกระเรียนพันตัวมีที่มาจากเด็กหญิงคนหนึ่งที่ชื่อซาซากิ ซาดาโกะ เธอป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวจากสารกัมมันตรังสีจากเหตุการณ์ระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่า ซาดาโกะเริ่มพับนกกระเรียนตามตำนานที่บอกว่าคำอธิษฐานจะเป็นจริงหากพับครบพันตัว เธอพับนกกระเรียนไปเรื่อยๆ ด้วยความหวังว่าตนจะหายเป็นปกติ แต่สุดท้ายเธอก็จากไปอย่างสงบ นกกระเรียนพันตัวจึงแฝงความหมายของการขอให้หายป่วยและยังเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพด้วยเช่นกัน
Read More
นินจา คืออะไร นินจา (Ninja) คือ หนึ่งในนักรบญี่ปุ่นโบราณ เป็นเลิศในการแฝงตัว สอดแนม ลอบสังหาร และหลบหนี เชี่ยวชาญการใช้อาวุธหลายประเภท ประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่ยุคเซนโกคุ ในปัจจุบัน นินจาเป็นหนึ่งในภาพแทนของญี่ปุ่น ตามสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์มักมีคนใส่ชุดนินจาให้ถ่ายรูป รวมถึงยังสามารถลองแต่งชุดนินจาและใช้อาวุธนินจาได้ ในอดีต นินจามีหลายชื่อเรียกขึ้นอยู่กับยุคสมัยและพื้นที่ หนึ่งในนั้นคือ ชิโนบิ (忍び) ซึ่งเขียนด้วยคันจิเดียวกับนินจา (忍者) โดยตัวอักษรชิโนบิมีความหมายว่าหลบซ่อน หรือจะแปลว่าอดทนก็ได้เช่นกัน ส่วนนินจาหญิงจะเรียกว่า คุโนะอิจิ (Kunoichi) นินจาอิงะและโคงะ นินจาที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดได้แก่ นินจาอิงะ แห่งจัดหวัดมิเอะ และ นินจาโคงะ แห่งจังหวัดชิกะ แต่นอกจากนี้แล้วก็ยังมีนินจาอีกหลายสำนัก นินจามีอยู่จริงไหม คนทั่วโลกรู้จักนินจาของญี่ปุ่นดี มีปรากฏในภาพยนตร์ การ์ตูน และหนังสือของญี่ปุ่นมามากมาย รวมถึงยังมีสถานที่ท่องเที่ยวเกี่ยวกับนินจาอยู่หลายแห่ง จึงมีหลักฐานปรากฏไม่มากก็น้อยว่านินจามีตัวตนจริง อย่างไรก็ตาม งานของนินจาคือการเคลื่อนไหวในเงามืด รายละเอียดหลายอย่างจึงถูกเก็บเป็นความลับ ทำให้นินจาในหนังที่เรารู้จักกับนินจาในประวัติศาสตร์อาจไม่เหมือนกันเท่าไหร่่นัก ประวัติของนินจา หลักฐานเกี่ยวกับการมีอยู่ของนินจาปรากฏหลังยุคนัมโบคุ (1336-1392) และได้กลายเป็นที่รู้จักกันดีในช่วงยุคเซ็นโกคุ ซึ่งอำนาจการปกครองส่วนกลางเสื่อมลง ส่งผลให้เกิดการต่อสู้เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ กล่าวกันว่าไดเมียวหลายคนใช้นินจาเพื่อให้ตัวเองเหนือกว่าคู่ต่อสู้ เช่น...
Read More
นาเบะคืออะไร นาเบะ (Nabe) หรือ หม้อไฟ คืออาหารที่ใส่ผัก เห็ด เนื้อสัตว์ เต้าหู้และเส้นต่างๆ ลงไปต้มในหม้อและทานในหม้อนั้นโดยไม่เปลี่ยนภาชนะ อาจยกลงจากไฟหรือตั้งบนเตาแก๊สขณะรับประทานก็ได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า นาเบะ (鍋) ที่แปลว่าหม้อ ด้วยความที่นาเบะจะทานร้อนๆ จากหม้อ จึงนิยมทานในครอบครัวหรือหมู่เพื่อนในช่วงฤดูหนาว ทั้งในครัวเรือนและตามร้าน โยเซนาเบะ (Yosenabe) โยเซนาเบะ (Yosenabe) หรือหม้อไฟรวมมิตร คือนาเบะที่ใส่เครื่องหลายอย่าง ได้แก่ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผัก เต้าหู้ ลูกชิ้น และอื่นๆ ที่อยากใส่ เป็นอาหารที่ทำง่าย นิยมทานกันเป็นครอบครัวหรือในหมู่เพื่อนฝูง คำว่า โยเซ (寄せ) แปลว่ารวบรวม โยเซนาเบะจึงทำโดยการใส่ทุกอย่างลงไปต้มในหม้อให้หมด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู ไก่ วัว ปลา อาหารทะเล สารพัดผัก เห็ด หรือของดีประจำท้องถิ่นนั้นๆ มทสึนาเบะ (Motsunabe) มทสึนาเบะ (Motsunabe) คือหม้อไฟเครื่องในหมูหรือวัว มักใส่กะหล่ำปลี กุยช่าย...
Read More
ทานาบาตะ คืออะไร วันทานาบาตะ (Tanabata) ตรงกับวันที่ 7 กรกฎาคมของทุกปี หรือจำง่ายๆ ว่าวันที่ 7 เดือน 7 เป็นเทศกาลแห่งการขอพรที่มีที่มาจากตำนาน ดังนี้ ตำนานทานาบาตะ ญี่ปุ่นรับตำนานนี้มาจากจีน โดยเป็นตำนานความรักของเจ้าหญิงทอผ้าโอริฮิเมะ และชายเลี้ยงวัวฮิโกโบชิ ทั้งสองตกหลุมรักกันและเริ่มละทิ้งหน้าที่ของตน เมื่อบิดาของโอริฮิเมะที่เป็นผู้ปกครองสวรรค์รู้เข้าก็โกรธมาก จึงแยกทั้งคู่ออกจากกันโดยมีแม่น้ำสวรรค์หรือทางช้างเผือกคั่นกลาง เจ้าหญิงโอริฮิเมะโศกเศร้าเสียใจมาก บิดาจึงเห็นใจจึงอนุญาตให้ทั้งสองมาพบกันได้ปีละ 1 ครั้งในวันที่ 7 เดือน 7 นี้เอง โดยในวันนั้น นกคาซาซากิจะมาเป็นสะพานให้ทั้งสองได้ข้ามทางช้างเผือกมาพบกัน ทั้งคู่จึงกลับมาตั้งใจทำงานและเฝ้ารอให้ถึงวันทานาบาตะที่จะได้พบกันปีละครั้ง สามเหลี่ยมฤดูร้อน ตำนานนี้อ้างอิงจากดวงดาวบนฟ้า ในช่วงฤดูร้อน เราจะเห็นดาวโอริฮิเมะหรือดาวเวก้า (Vega) และดาวฮิโคโบชิ หรือดาวอัลแตร์ (Altair) ส่องแสงสว่างไสว เมื่อรวมกับดาวเดเนบ (Deneb) อีกดวง ดาว 3 ดวงนี้จะเป็น “สามเหลี่ยมฤดูร้อน” ที่เห็นได้ชัดในช่วงนี้ เทศกาลทานาบาตะทำอะไรบ้าง ในช่วงเทศกาล สถานที่หลายแห่งในญี่ปุ่นจะมีการประดับประดาอย่างเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ ต้นไผ่แขวนกระดาษขอพร โคมพู่กระดาษ...
Read More
สาเก (Nihonshu) คืออะไร คำว่า สาเก ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึงเหล้าทั่วไปทุกชนิด ส่วนสาเกญี่ปุ่นที่ไทยเข้าใจนั้น ญี่ปุ่นเรียกกันว่า นิฮงชู (Nihonshu) ซึ่งแปลว่าเหล้าญี่ปุ่น สาเกญี่ปุ่น ทำจากข้าว โคจิ (ยีสต์) และน้ำ ข้าวที่นำมาใช้หมักทำสาเกมีหลายชนิด น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำจากธรรมชาติที่มีคุณภาพดี สาเกมีแอลกอฮอล์ประมาณ 10-20% ในการทำเหล้าสาเกให้ออกมามีคุณภาพที่ดี ข้าวจะต้องถูกนำมาสีจนเหลือ 70% หลังนึ่งแล้วจะเติมราโคจิลงไปเพื่อหมักข้าว จากนั้นก็ใส่น้ำและยีสต์ลงไปแล้วหมักต่อเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ถึง 1 เดือน เมื่อกระบวนการหมักเสร็จสิ้นแล้ว จะนำส่วนผสมมากรองเพื่อสกัดออกมาเป็นเหล้าสาเก จากนั้นจึงนำไปบ่มต่อเป็นระยะเวลาราว 1 ปี สาเกญี่ปุ่นสามารถนำไปแช่เย็นดื่มแบบเย็นชื่นใจในวันอากาศร้อน หรืออาจนำไปอุ่นแล้วดื่มร้อนๆ ในฤดูหนาว หรือจะดื่มในอุณหภูมิห้องก็ได้เช่นกัน ประเภทของสาเก ชนิดของสาเกสามารถแบ่งประเภทโดยส่วนผสมและวิธีการผลิต ดังนี้ แบ่งตามส่วนผสม เมื่อแบ่งโดยส่วนประกอบ สาเก สามารถแบ่งได้เป็นสาเกแบบผสมแอลกอฮอล์ และไม่ผสมแอลกอฮอล์ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้ Junmai ไม่กำหนดปริมาณเนื้อข้าวที่ต้องสี ทำจากข้าว น้ำ และเชื้อโคจิเท่านั้น ไม่ผสมแอลกอฮอล์หรือน้ำตาล Ginjo...
Read More
1 15 16 17 18 19 21